การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศ ที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล “นโยบายด้านการต่างประเทศเป็นส่วนประกอบสำคัญของนโยบายองค์รวมทั้งหมดในการบริหารราชการแผ่นดิน” ๑. การปกป้องและเชิดชูสถาบันกษัตริย์ และการสร้างความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย (นโยบาย รบ. ข้อ ๑, ๒) แนวทาง คือ การเน้นย้ำการมองไปข้างหน้า และยืนยันการก้าวไปสู่ประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง และยั่งยืนของไทย ตลอดจนศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางด้านต่าง ๆ ของไทยจากที่ตั้งทาง ยุทธศาสตร์ ความเข้มแข็งของพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และการมีบทบาทในประชาคมระหว่างประเทศ ตลอดจนการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ สถาบันฯ กิจกรรมหลัก (๑) การชี้แจงต่อคณะทูต/ บุคคลสำคัญ/ decision-makers/ องค์การระหว่างประเทศ/ ภาคเอกชน/ สื่อมวลชน/ ชุมชนไทย ในต่างประเทศ (๒) การจัดทำ PR Campaign/ การจัด Roadshow (๓) การเชิญสื่อมวลชนต่างประเทศเยือนไทย (๔) การดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันฯ ๒. การกระชับความสัมพันธ์กับต่างประเทศและส่งเสริมบทบาทไทยในเวทีระหว่างประเทศ (นโยบาย รบ. ข้อ ๒, ๖, ๗) แนวทาง คือ การสานต่อความร่วมมือกับป...
มาตรการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศ ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศขึ้น ประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งนั้นย่อมไม่สามารถจะรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศกันไว้ได้ หากความขัดแย้งมีขีดความรุนแรงสูงอาจจะต้องถึงกับมีการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตก็ได้ อย่างไรก็ดี โดยทั่วไปแล้วประเทศคู่กรณีที่เกิดความขัดแย้งนั้นไม่พึงปรารถนาที่จะปล่อยให้ความขัดแย้งมีอยู่ตลอดไป เพราะตราบเท่าที่ยังมีความขัดแย้งอยู่ ประเทศคู่กรณีไม่อาจมีความสัมพันธ์ปกติต่อกันได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องแสวงหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น สำหรับมาตรการที่ถือเป็นขนบธรรมเนียมในการแก้ไข ความขัดแย้งนั้น มีดังนี้ 1. การเจรจาโดยตรงระหว่างประเทศที่มีปัญหาต่อกัน วิธีการนี้จะใช้ได้กับประเทศที่มีปัญหาต่อกันโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นประเทศที่มีพรมแดน ติดต่อกัน ทำให้เกิดการกระทบกระทั่งที่นำไปสู่ความขัดแย้งกัน เช่น กรณีปัญหาชายแดนพม่าของไทย ซึ่งทำให้รัฐบาลและผู้นำทางทหารของไทยและพม่าต้องเปิดเจรจาต่อกันเพื่อแก้ไขปัญหา เป็นต้น 2. การประนีประนอม เป็นมาตรการที่คู่กรณีที่มีควา...