ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

2.เครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ


เครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ
เครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ประกอบด้วย
1. การทูต
การทูต (Diplomacy) หมายถึง ศิลปะในการดำเนินการและในการเป็นตัวแทนผลประโยชน์แห่งรัฐบาลของตนในต่างประเทศด้วยความเฉลียวฉลาด

2. การเจรจาระหว่างประมุขหรือผู้นำของรัฐ
นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นต้นมา การคมนาคมระหว่างประเทศเจริญก้าวหน้าขึ้นมาก ทำให้การเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างประเทศต่างๆ ทั่วทุกมุมโลกกระทำได้โดยสะดวกรวดเร็วและปลอดภัยมากขึ้น จึงทำให้เกิดประเพณีทางการทูตขึ้นใหม่คือการเดินทางไปเจรจาระหว่างประมุขหรือผู้นำของรัฐต่างๆ ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน เป็นบุคคลแรกที่ได้ปฏิบัติ คือ การเดินทางเข้าร่วมประชุมเจรจาที่แวร์ซาร์ย ประเทศฝรั่งเศสภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาวิธีการนี้ได้กระทำกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

3. การทหาร
หลายประเทศได้ใช้กำลังทหารเป็นเครื่องมือสนับสนุนการดำเนินนโยบายต่างประเทศของตน เพราะว่าในเรื่องการเมืองระหว่างประเทศนั้น แต่ละชาติต่างมุ่งรักษาหรือแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ ความมุ่งหมายของการแข่งขันคือความต้องการที่จะให้ชาติอื่นยอมปฏิบัติตามความปรารถนาของตนหรือสามารถที่จะกำหนดเงื่อนไขในการตกลงกับชาติอื่น

4. การเศรษฐกิจ
ในปัจจุบันการเศรษฐกิจได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างมาก เพราะประเทศที่มีสถานะทางเศรษฐกิจดีย่อมสามารถมีอิทธิพลเหนือประเทศอื่นได้ ประเทศที่มั่งคั่งมักใช้พลังอำนาจทางเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ โดยวิธีการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศที่มีความอ่อนแอทางเศรษฐกิจทั้งในรูปแบบการให้เปล่า การให้กู้ยืมระยะยาวและคิดดอกเบี้ยต่ำ ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศเหล่านั้นเป็นพรรคพวกตน หรือสนับสนุนตนในการดำเนินนโยบายต่างประเทศ

5. การจารกรรม
ในการดำเนินกิจการระหว่างประเทศย่อมมีขอบข่ายการจารกรรมหรือหน่วยสืบราชการลับซึ่งส่งไปปฏิบัติงานทั้งในประเทศที่เป็นมิตรและประเทศที่เป็นศัตรู การจารกรรมคือการแสวงหาความลับและการหาข่าวกรอง เพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงจากข่าวสารของประเทศต่างๆ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในด้านการทหารหรือการเศรษฐกิจ หน่วยจารกรรมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักได้แก่ CIA (Central Intelligence Agency) ของสหรัฐอเมริกา และ KGB (Komitet Gosudarstvenoi Bezopasnosti) ของสหภาพโซเวียตในอดีต

https://www.baanjomyut.com/library_4/politics/10_4.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

3.สาเหตุของการขัดแย้งระหว่างประเทศ

สาเหตุของการขัดแย้งระหว่างประเทศ ปรากฏการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นมาในทุกยุคทุกสมัยก็คือความขัดแย้ง ซึ่งหมายถึงสภาวการณ์ที่ตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไปมีปัญหาบางประการที่ต้องกระทำการตกลงหรือระงับข้อปัญหานั้นเสียก่อน มิเช่นนั้นสภาวะดังกล่าวจะมีผลทำให้ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศไม่อาจดำเนินไปได้อย่างปกติ สำหรับสาเหตุของความขัดแย้งระหว่างประเทศสามารถสรุปได้ 5 ประการ ดังนี้ 1. การขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ของชาติ ผลประโยชน์ของชาติ ได้แก่สิ่งที่ผู้นำหรือประชาชนของประเทศหนึ่งถือว่ามีความสำคัญยิ่งต่อการธำรงไว้ซึ่งเอกราช วิถีชีวิต ความมั่งคั่ง และเกียรติภูมิของประเทศ โดยทั่วไปเมื่อประเทศหนึ่งพิจารณาเห็นว่าอีกประเทศหนึ่งแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ประเทศมากจนเป็นอันตรายต่อประเทศตน การขัดแย้งระหว่างประเทศทั้งสองย่อมเกิดตามมา 2. ทัศนคติที่มีต่อกัน ทัศนคติที่มีต่อกันระหว่างประเทศนั้นเป็นผลมาจากเหตุการณ์ในอดีตและปัจจุบันและทัศนคติของประชาชนของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ เช่น ทัศนคติที่ไม่ไว้วางใจกันมาแต่ก่อนจะเป็นตัวกำหนดนโยบายต่างประเทศ ดังเช่น เวียดนามมีทัศนคติสืบเนื่องมาจากอดีต...

4.มาตรการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศ

มาตรการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศ ในกรณีที่เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศขึ้น ประเทศที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งนั้นย่อมไม่สามารถจะรักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศกันไว้ได้ หากความขัดแย้งมีขีดความรุนแรงสูงอาจจะต้องถึงกับมีการตัดความสัมพันธ์ทางการทูตก็ได้ อย่างไรก็ดี โดยทั่วไปแล้วประเทศคู่กรณีที่เกิดความขัดแย้งนั้นไม่พึงปรารถนาที่จะปล่อยให้ความขัดแย้งมีอยู่ตลอดไป เพราะตราบเท่าที่ยังมีความขัดแย้งอยู่ ประเทศคู่กรณีไม่อาจมีความสัมพันธ์ปกติต่อกันได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องแสวงหามาตรการที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น สำหรับมาตรการที่ถือเป็นขนบธรรมเนียมในการแก้ไข ความขัดแย้งนั้น มีดังนี้ 1. การเจรจาโดยตรงระหว่างประเทศที่มีปัญหาต่อกัน วิธีการนี้จะใช้ได้กับประเทศที่มีปัญหาต่อกันโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นประเทศที่มีพรมแดน ติดต่อกัน ทำให้เกิดการกระทบกระทั่งที่นำไปสู่ความขัดแย้งกัน เช่น กรณีปัญหาชายแดนพม่าของไทย ซึ่งทำให้รัฐบาลและผู้นำทางทหารของไทยและพม่าต้องเปิดเจรจาต่อกันเพื่อแก้ไขปัญหา เป็นต้น 2. การประนีประนอม เป็นมาตรการที่คู่กรณีที่มีควา...